บ้านสไตล์คอตเทจ

บ้านสไตล์คอทเทจ

บ้านสไตล์คอตเทจ คือบ้านที่ใช้การตกแต่ง แบบคันทรีในฝั่งตะวันตก สามารถปรับเปลี่ยนให้ เข้ากับสไตล์อื่นได้ไม่ยาก เพราะมีความเป็นธรรมชาติ อยู่ในตัวค่อนข้างสูง จากวัสดุที่เลือกใช้ในการสร้าง เช่น เปลือกไม้ หิน ไม่ว่าจะเป็นของจริงจากธรรมชาติหรือของเทียม ที่อาจมีราคาถูกกว่า ผสมการตกแต่งอื่น ๆ ด้วยวัสดุที่เป็นของเก่า เพื่อให้ลงตัวกับองค์ประกอบโดยรวมของบ้าน ซึ่งบ้านสไตล์คอทเทจ นี้สามารถสร้างความรู้สึก ผ่อนคลายให้กับผู้อยู่อาศัย ได้เป็นอย่างดี

ในประเทศไทยแบบบ้านคอทเทจ เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น ด้วย สไตล์คอทเทจ สามารถปรับเปลี่ยนใช้วัสดุในธรรมชาติที่หาได้ง่าย ในประเทศไทยเลยไม่ เป็นปัญหาในด้านการก่อสร้าง แต่อาจจะปรับแบบ จากต่างประเทศนิดหน่อย เช่น ต่างประเทศจะ มีเตาผิงไฟสำหรับหน้าหนาว แต่บ้านเราไม่จำเป็นต้องใช้ หรือวัสดุต่าง ๆ Phuket buy home

การแต่งบ้านสไตล์วินเทจ บ้านสไตล์คอตเทจ

การแต่งบ้านสไตล์วินเทจ บ้านสไตล์คอตเทจ เน้นการใช้เฟอร์นิเจอร์ และของแต่งบ้านย้อนยุค เพื่อสร้างบรรยากาศเก่าแก่ให้บ้าน โดยเฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้านสไตล์นี้ ไม่ได้ถูกวางจำหน่ายทั่วไป และมีราคาไม่น้อยทีเดียว แต่ถ้ารู้เทคนิคการนำของเก่าในบ้านมาดัดแปลง

และรู้แหล่งซื้อเฟอร์นิเจอร์แต่งบ้าน ซื้อขายของแต่งบ้านวินเทจ ในราคาย่อมเยา ก็จะช่วยประหยัดงบประมาณในกระเป๋า ทั้งยังได้สไตล์บ้านในฝัน มาครอบครองด้วย บ้านเดี่ยว

บ้านวินเทจ 4 เทคนิค ตกแต่งบ้านราคาสบายกระเป๋ามากๆ

บ้านสไตล์คอตเทจ

1.ทาสีเฟอร์นิเจอร์หรือของตกแต่งเก่าให้ดูใหม่สไตล์คุณ
สีเอกลักษณ์ใน การแต่งบ้านวินเทจ คือ น้ำตาล ชมพูอ่อน หรือม่วงอ่อน ไม่เพียงเท่านี้ สีแนววินเทจยังรวมถึงสีขาว ครีม เหลือง และสีอ่อนอื่น ๆ ด้วย ให้นำเฟอร์นิเจอร์หรือของตกแต่งเก่าที่มีอยู่ หรือมาพร้อมกับบ้านมือสอง มาทาสีใหม่โดยเล่นโทนสีในข้างต้นเพื่อทำให้ดูคลาสสิก

และเก๋ไก๋ในสไตล์ของตนเองได้ สำหรับผู้ที่ซื้อบ้านมือสอง ที่น่าจะต้องทาสีกำแพง ประตู หน้าต่าง และ/หรือทำพื้นใหม่อยู่แล้ว ก็สามารถเลือกใช้สีโทนเหล่านี้ได้ด้วย

2.ดัดแปลงของสะสมเก่า ๆ ให้กลายเป็นของแต่งบ้านวินเทจสุดชิค
ให้นำของสะสมเก่า ๆ เช่น ตุ๊กตากระดาษ สติกเกอร์ ไปรษณียบัตร แสตมป์ โปสการ์ด ฝาขวดน้ำอัดลม เป็นต้น มาทากาวติดลงบน กระดาษสีขาว น้ำตาล ครีม เหลือง หรือสีที่เข้ากับโทนห้องแต่ตัด กับของสะสมเพื่อดึง ให้ของสะสมดูโดดเด่น แล้วใส่ในกรอบรูป ที่มีลวดลาย สไตล์วินเทจ และนำไปแขวนหรือ ติดที่ผนังห้อง หรือจะใส่ในกรอบรูปตั้งโต๊ะเพื่อวางประดับบนโต๊ะ ตู้ และหัวเตียงก็ได้

บ้านสไตล์คอตเทจ

3.สร้างความมีชีวิตชีวาโดยตกแต่งบ้านด้วยผ้าคลุมไหล่
อย่าปล่อยให้ผ้าพันคอลายเก่า หรือสีพื้นโทนวินเทจ ที่อาจไม่เหมาะกับสภาพ อากาศประเทศไทยเท่าไรนัก ถูกลืมอยู่ในตู้เสื้อผ้า ลองนำมาใช้เป็นผ้าปูโต๊ะ หรือผ้าม่านได้ หากผ้าคลุมไหล่ผืนเล็ก ให้นำมาผูกกับของตกแต่งอื่น ๆ เช่น แจกัน หมอนอิง หรือจะผูกรวมกันแขวนไว้ ที่กำแพงหรือหัวเตียงก็ได้ การตกแต่งแบบนี้ จะช่วยให้บ้านดูสดใสและมีสไตล์ยิ่งขึ้นโดยไม่ ต้องสิ้นเปลืองเงินด้วย

4.เปลี่ยนหีบเก่าให้เป็นโต๊ะใหม่
นำหีบเก่า ๆ ที่อาจไม่ได้ใช้แล้วมาดัดแปลง เป็นโต๊ะรับแขกในห้องนั่งเล่น หรือโต๊ะในมุมพักผ่อนได้ อีกทั้งยังเก็บสิ่งของหรือเครื่องใช้ไว้ภายในหีบได้ด้วย เพื่อให้ดูเหมือนใหม่ และดูมีสไตล์มากขึ้น ให้ทาสีใหม่ตามเทคนิคในข้อ 1 หรือจะใช้ผ้าปูโต๊ะในเทคนิคข้อ 3 ก็ได้ แล้วอย่าลืมตกแต่งโต๊ะ

ดัดแปลงนี้ด้วยแจกันวินเทจ หรือหนังสือเก่าสักเล่ม เพื่อช่วยเพิ่มบรรยากาศย้อนยุค และสำหรับใครที่เกรงว่า พื้นบ้านจะเป็นรอย แนะนำให้เลือกพรม โทนสีน้ำตาลลองใต้หีบอีกชั้น

แบบบ้านสไตล์คอทเทจ บ้านสไตล์คอตเทจชั้นเดียวดูอบอุ่น

แบบบ้านสไตล์คอทเทจ ชั้นเดียวดูอบอุ่น

หากเราสร้างบ้านแบบวิ่งตามเทรนด์ในช่วงนั้นๆ แน่นอนว่าคงเป็นที่ถูกตาผู้คนที่ผ่านไปมา และต้องใจเจ้าของบ้านเป็นอย่างมาก แต่เมื่อกระแสตกบ้านของเราก็จะเป็นสิ่งก่อสร้างที่ Out จนดูเชยไปในทันที สำหรับใครที่เหนื่อยจะตามกระแส อยากหันมามองหารูปแบบบ้านที่ไม่มีเทรนด์ สามารถอยู่ร่วมได้อย่างกลมกลืนกับทุกยุคสมัย บ้านสไตล์กระท่อมที่สร้างจากวัสดุบ้านๆ แต่ปรับเส้นสายให้มีความใหม่ คม ชัด ขึ้น น่าจะเป็นหนึ่งในบ้านในฝันที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตได้เป็นอย่างดี

บ้านทรงกระท่อมผนังและหลังคาสีส้มอมแดงขนาด 30 ตร.ม.หลังนี้ สร้างอยู่ในจังหวัด Santo Domingo de Los Tsáchilas ในเอกวาดอร์ ประกอบด้วยห้องนอน ห้องแต่งตัว ห้องน้ำ ห้องครัว และห้องนั่งเล่น ลักษณะของสภาพแวดล้อมของเมืองที่ตั้งอยู่กลางธรรมชาติ

ไม่มีเพื่อนบ้านใกล้เคียงที่อยู่ติด ๆ กัน ค่อนข้างมีความปลอดภัย ทำให้สามารถเปิดห้องครัวและห้องนั่งเล่นออกไปด้านนอกได้เลย โดยไม่ต้องใช้ฉากกั้นหรือองค์ประกอบผนังแบบโปร่งใสใด ๆ ปิดบังพื้นที่ใช้งานของบ้าน

บ้านถูกยกขึ้นสูงจากพื้นประมาณหนึ่งเมตร

ถ้าเรารู้สึกว่าหลังคาแบบจั่วมีข้อดี และหลังคาแบบปั้นหยาก็มี จุดเด่นเหมือนกัน จะให้เลือกแบบใดแบบหนึ่งก็เสียดาย และดูไม่เข้ากันกับรูปร่างบ้านโดยรวม การผสมผสานรูปทรง หลังก็เป็นทางเลือกที่เหมาะกว่า อย่างเช่นบ้านนี้ที่มีรูปร่างคล้ายตัว L มีด้านที่ยาวและสั้น สถาปนิกจึงใส่รูปแบบหลังคา ด้านหนึ่งเป็นจั่วแต่อีกด้านเป็นทรงปั้นหยา ซึ่งลงตัวพอดีกับบ้าน

บ้านถูกยกขึ้นสูงจากพื้นประมาณหนึ่งเมตร ป้องกันตัวบ้านจากอุทกภัย และความชื้นได้ มีบันไดไม้แม่บันไดเหล็กช่วยนำทางขึ้นไป แล้วจะพบกับโซนครัวและมุมนั่งเล่นที่เปิดกว้างเหมือนระเบียงขนาดใหญ่ที่ชวนให้ออกมาใช้ชีวิต ทานอาหาร ชมวิวสวน อย่างสดชื่นสบายใจ การตกแต่งง่ายๆ ใช้อิฐเปลือย กระเบื้องทำมือ ไม้ และชิ้นส่วนเหล็กดัดลายอ่อนช้อย ตัดกันอย่างกลมกลืนกับพื้นที่ภายในที่ทาสีขาว

รายละเอียดขอดีไซน์ที่ เรียบง่ายดูอบอุ่นคุ้นเคย ไม่ว่าจะเป็นรูปทรงหลังคา วัสดุมุงที่ใช้กระเบื้อง ลอนดินเผาแบบท้องถิ่น ผนังโชว์อิฐเรียงเป็นแถว ไม้ที่ตกแต่งส่วนจั่วบ้าน ตัดกรอบบ้านเพิ่มเส้นสายตาที่คมชัดด้วยสีดำ ทำให้บ้านน่ารักแบบไม่น่าเบื่อ ไม่วิ่งตามเทรนด์จึงอยู่ร่วมได้ในทุกยุคสมัย เพิ่มช่วงเวลาที่พิเศษด้วยการตกแต่งไฟส่องสว่างตามจุดต่างๆ ของบ้าน เพียงเท่านี้ก็ทำให้ที่นี่เป็นเหมือนอาณาจักรส่วนตัวน้อย ๆ ที่พร้อมสำหรับการพักผ่อนในทุกช่วงเวลา

หลังคาเป็นโครงสร้างที่ทำหน้าที่ปกป้อง บ้านจากสภาพแวดล้อมภายนอกต่างๆ โดยตรง ไม่ว่าจะเป็น การป้องกันบ้านจากความร้อนหรือน้ำฝน ซึ่งหลังคาบ้านก็มีหลากหลายรูปแบบ หลังคาที่เปลี่ยนไปก็อาจเปลี่ยนคุณสมบัติในการปกป้องบ้าน หรือรูปลักณ์ อารมณ์ของบ้านได้ ในบ้าน 1 หลัง

หลังคาเป็นโครงสร้างที่ทำหน้าที่ปกป้อง

อาจะไม่จำเป็นต้องใช้ รูปแบบหลังคาเหมือนกัน เราจะพบว่าบ้านหลายหลังมี ส่วนผสมของหลังคาแบนโมเดิร์นผสมจั่วไร้ชายคาแบบนอร์ดิก และปั้นหยา ออกมาในรูปแบบบ้านทรงมะนิลา (ปั้นหยายกจั่ว) หรือบ้านหลังนี้ด้านหนึ่งเป็นจั่ว อีกด้านที่ยาวกว่าเป็นปั้นหยาช่วย คลุมตัวบ้านให้ครบทุกด้าน เป็นต้น