ทาวน์เฮาส์สไตล์โมเดิร์น

ทาวน์เฮาส์สไตล์โมเดิร์น

ทาวน์เฮาส์สไตล์โมเดิร์น ทาวน์เฮ้าส์ คือ บ้านแถวหรือตึกแถวที่มีหน้าตา และรูปแบบการออกแบบเหมือนกัน ตัวบ้านอยู่ชิดติดกันเป็นแถบตั้งแต่ 2 คูหาขึ้นไป ความสูงไม่เกิน 3 ชั้น ส่วนใหญ่แล้วมักสร้างเป็นบ้านแถว 2 ชั้น มีกำแพงกั้นระหว่างบ้านเท่านั้น ไม่ได้มีรั้วแยกอาณาเขตบ้านแต่ ละหลังอย่างชัดเจน

แน่นอนว่าพื้นที่หรือบริเวณภายใน ตัวบ้านค่อนข้างเล็กและจำกัด พื้นที่ใช้สอยพอประมาณ เช่น 2 ห้องน้ำ 3 ห้องนอน 1 ห้องครัว พื้นที่พอเลี้ยงสัตว์เลี้ยงได้บ้าง

ทาวน์เฮาส์สไตล์โมเดิร์น

ส่วนใหญ่จะมีระยะห่างระหว่างบ้าน แต่ละหลังน้อย เนื่องจากไม่มีรั้วกั้น ส่งผลให้ความเป็นส่วนตัวค่อนข้างน้อยตามไปด้วย เมื่อพูดถึงเรื่อง สิ่งอำนวยความสะดวก ทาวน์เฮ้าส์บาง โครงการจะไม่มีส่วนกลาง หรือคลับเฮ้าส์ที่ใช้ร่วมกันเหมือนโครงการบ้านจัดสรรอื่น ๆ

ทาวน์เฮาส์สไตล์โมเดิร์น

ทาวน์โฮมกับทาวน์เฮ้าส์ แบบไหนเหมาะกับใคร

มาถึงตรงนี้ หลายคนคงอยาก ได้คำตอบที่ช่วยชี้ชัดว่าจริง ๆ แล้ว ทาวน์เฮ้าส์หรือทาวน์โฮม ที่เหมาะกับเรามากกว่ากัน ประเด็นนี้จะขอแนะนำตามลักษณะ ความต้องการของผู้อยู่อาศัย บ้านจัดสรร ที่สอดคล้องกับลักษณะ ของประเภทบ้านแต่ละแบบ ดังนี้

1.เน้นอยู่อาศัย
หากวัตถุประสงค์หลักของการซื้อบ้านสักหลังของคุณเน้นอยู่อาศัยเป็นครอบครัวหรือคนสนิท ทั้งทาวน์เฮ้าส์และทาวน์โฮมก็เป็นคำตอบที่ตอบโจทย์ได้ทั้งคู่ หากเลือกทาวน์เฮ้าส์อาจจะต้องใส่ใจกับเพื่อนบ้านมากกว่าทาวน์โฮม เนื่องจากบางโครงการไม่มีการแบ่งพื้นที่รั้วเป็นสัดส่วน รวมถึงหากมีรถยนต์อาจไม่เหมาะกับการอยู่อาศัยในทาวน์เฮ้าส์ที่ไม่มีแบ่งรั้วเป็นสัดส่วน เพราะอาจมีปัญหาภายหลังได้
นอกจากนี้การออกแบบของทาวน์เฮ้าส์ อาจไม่ตอบโจทย์การอยู่อาศัยที่หลากหลายมากนัก เนื่องจากหลายโครงการไม่ได้ออกแบบให้มีห้องนอนชั้นล่าง ห้องนั่งเล่น หรือห้องโฮมเธียเตอร์ เหมือนกับโครงการทาวน์โฮมในปัจจุบัน

2.เน้นสร้างมูลค่า
ต้องยอมรับว่าทาวน์โฮมเป็นสินทรัพย์ที่นำไปดัดแปลงใช้สอยอย่างอื่นได้ยืดหยุ่นกว่า นอกจากจะใช้เป็นที่อยู่อาศัยแล้ว ยังเหมาะกับการประยุกต์เป็นโฮมออฟฟิศ เหมาะสำหรับคนที่วางแผนเปิดบริษัทหรือทำกิจการส่วนตัว สามารถแบ่งพื้นที่ภายในบ้านให้เป็นทั้ง “บ้าน” และ “ที่ทำงาน” ได้ในเวลาเดียวกัน เช่น ชั้นบนสุดเป็นห้องนอนและที่อยู่อาศัยของสมาชิกภายในบ้าน ส่วนชั้นสองและชั้นล่างเป็นพื้นที่สำนักงานสำหรับติดต่อธุรกิจกับบุคคลภายนอก
ที่สำคัญยังสามารถต่อเติมได้ง่ายกว่า เมื่อเทียบกับการปรับเปลี่ยนหรือต่อเติมพื้นที่กับทาวน์เฮ้าส์ เพราะอาจเกิดปัญหากระทบกระทั่งกับเพื่อนบ้านได้ง่าย นอกจากนี้ โครงการทาวน์โฮมส่วนใหญ่ยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มเติมเข้ามาด้วย ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับการใช้ชีวิต

3.เน้นความเป็นส่วนตัว
อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าทาวน์โฮมให้อารมณ์บ้านแถวที่เหมือนอยู่บ้านเดี่ยว แน่นอนว่าย่อมมีความเป็นส่วนตัวมากกว่า มีรั้วเขตกั้นบ้านแต่ละหลังชัดเจน ทำให้พักผ่อนหรือทำกิจกรรมภายในบ้านตัวเองได้อย่างสะดวก

4.เน้นราคาจับต้องได้
ต้องยอมรับว่าทาวน์เฮ้าส์มีราคาขายถูกกว่าทาวน์โฮม ซึ่งส่วนใหญ่ในปัจจุบันมักเป็นโครงการบ้านมือสอง แตกต่างจากโครงการทาวน์โฮมที่เป็นโครงการรูปแบบใหม่ ที่มาพร้อมกับสิ่งอำนวยความสะดวก และบางโครงการมีเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ช่วยดำเนินชีวิตในบ้านด้วย ทำให้ราคาทาวน์โฮมสูงขึ้น

แบบบ้านทาวน์เฮาส์สไตล์โมเดิร์น

ทาวน์เฮาส์สไตล์โมเดิร์น

บนถนนที่อยู่ บ้านทาวน์เฮาส์ อาศัยอันเงียบสงบในย่านชานเมืองของเมลเบิร์น Thornbury เป็นโครงการทาวน์เฮาส์ที่ผุดขึ้นท่ามกลางบ้านอิฐสีแดงและสีครีม เป็นอาคารใหม่ที่ใช้วัสดุ สี และรูปทรงที่เรียบง่ายแต่กลับโดดเด่นสะดุดตา แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ บ้านนี้เป็นทาวน์เฮาส์แฝดที่ไม่สังเกตดี ๆ ก็ไม่รู้ว่ามี 2 หลัง

สำหรับเจ้าของบ้านนี้เป็นครอบครัวเดียวกันสองเจเนอเรชัน ครอบครัวแรกเป็นคู่สามีภรรยาสูงอายุ และอีกหนึ่งครอบครัวที่มีลูกเล็ก ทั้งสองกลุ่มร่วมมือกันจัด ทำบทสรุปร่วมกันที่ตอบสนอง ต่อความต้องการที่แตกต่างกันของพวกเขา แล้วนำมาทำซ้ำแผนเดียวกันในแปลนของตัวเองได้ ผลลัพธ์ที่ได้คือบ้านที่มีชิ้นส่วน แบบธรรมดาแต่สามารถปรับเปลี่ยนและยืดหยุ่นให้เหมาะกับการใช้งานได้

ทาวน์เฮาส์ สำหรับผู้เข้าพักเป็นคู่ (Dual Occupancy) หรือบ้านแฝดที่อยู่สองครอบครัวในหลังเดียว เป็นเรื่องปกติในเขตชานเมืองชั้นในตอนเหนือของเมลเบิร์น หลายหลังขาดระเบียบทางสถาปัตยกรรมที่ชัดเจน แต่ทาวน์เฮาส์ Thornbury ของ Fowler ต่างออกไปเพราะที่นี่นอกจาก จะมีเส้นสายที่ผ่านการคิดมาแล้ว มีวัสดุที่จับต้องได้ไม่แพงอย่างเมทัลชีท ไม้ อิฐ และเพิ่มฟาซาดให้ความความเป็นส่วนตัว ภายในยังแบ่งสัดส่วนการใช้งาน และมีส่วนที่ใช้งานแบบโปร่งโล่งสบายๆ

ประตูทางเข้าบ้าน

ภาพรวมของบ้านดูง่าย ๆ แต่ถ้ามองภาพใกล้ ๆ จะเห็นรายละเอียดปลีกย่อยที่ทำให้บ้านมีหลายอารมณ์ ไม่ว่าจะเป็น สวนโล่ง ๆ ที่ทางเข้า ปูด้วยแผ่นหินกลางพื้นทรายที่ นำสายตาเข้ามาคู่กัน 2ด้าน กรอบบ้านเป็นคอนกรีตพ่นทรายหยาบๆ

ที่มีส่วนลึกรองรับรูปแบบ หน้าจั่วสีขาวที่คมชัดด้านบน ที่ชั้นล่างยังมีประตูไม้สีน้ำตาล อันอบอุ่นเผยให้เห็นส่วนความลึกเข้าไป ต้นไม้ใบหญ้าที่ตกแต่งบ้านเสริมแนวสถาปัตยกรรม ส่วนองค์ประกอบของ อาคารอย่างกรอบบ้านที่ยาวเป็นกรอบเดียว ผนังกระจกที่แทรกอยู่ ทำให้ยากต่อการพิจารณาในทันทีว่านี่คือบ้านหนึ่งหรือสองหลัง

แต่ละบ้านจะมีทางเข้าและบันไดแยกกันเป็นคนละคูหา ด้านหน้าที่ติดถนนหันไปทางทิศเหนือ ซึ่งให้แสงที่มีคุณภาพในช่วงเช้า สิ่งที่เป็นข้อพิจารณาหลัก คือการพยายามนำแสงทางทิศนี้มาสู่พื้นที่อยู่อาศัย นักออกแบบจึงใส่ผนังกระจกใสขนาดใหญ่ด้านล่าง หลังคาที่มีความแหลมสูงชันเหนือ ห้องนั่งเล่นชั้นบนก็มีจังหวะ ของช่องแสงทางทิศเหนือเช่นกัน สำหรับชั้นล่างมีส่วนที่เจาะ พื้นที่สูงสองเท่าโปร่ง ๆ

ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างชั้น ทำให้การปฏิสัมพันธ์กันง่ายขึ้น และช่วยระบายอากาศ พร้อมกระจายแสงเข้าสู่ตัวบ้าน ในจุดต่ำของหลังคาจั่วแหลมจะติดกับลานด้านหลัง ให้มุมมองที่ดูต่ำช่วยลดผลกระทบ ต่อภาพที่มีต่อบ้านที่อยู่ใกล้เคียง

ผนังสีขาว ไม้สีน้ำตาล กระจกใส เป็นสามสิ่งที่แม้จะไม่มีรายละเอียดความหรูหรา แต่เมื่อจับมาอยู่ด้วยกันแล้วรู้สึกว่าอิ่มครบไม่ขาดไม่เกิน พื้นที่ใช้สอยหลักในบ้าน พยายามจับแสงเหนือผ่านหน้าต่าง และช่องแสงทั้งแนวนอนและแนวตั้ง เพื่อให้แสงแดดส่องถึงโดยตรง ทำให้ได้ประโยชน์ จากมวลความร้อนในช่วงหน้าหนาวด้วย ความใสของกระจกยังช่วยเปิดมุมมองให้เห็นวิว พร้อม ๆ กับสร้างความรู้สึกโปร่งเบาให้บ้านดูกว้างขึ้น มีอิสระทางสายตาและพื้นที่มากขึ้น

การตกแต่งใช้วัสดุจากธรรมชาติ อาทิ ไม้ หินขัด

การตกแต่งใช้วัสดุจากธรรมชาติ อาทิ ไม้ หินขัด อิฐ โทนสีอ่อนๆ มีความเป็นเอิร์ธโทน อย่างเช่น สีชานม สีเขียวหัวเป็ด เฟอร์นิเจอร์เลือกน้อยชิ้นเท่าที่จำเป็น รูปลักษณ์ดีไซน์เรขาคณิต บางชิ้นเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง มุมมมน ที่ทำให้บรรยากาศโดยรวมดูผ่อนคลายสบายตา

สถาปนิกพยายามจัดฟังก์ชันเอาไว้ที่ด้านหนึ่งของบ้าน แล้วจัดให้มีที่ว่างสำหรับทำ เป็นโถงบันไดเชื่อมต่อระหว่างชั้นข้างๆ โดยใส่ช่องแสงในพื้นที่ค่อนข้างใหญ่ ให้บ้านมีความสว่างใน ระหว่างขึ้นลงบันไดและมีช่องแสง skylight ในบางจุด วิธีนี้ทำให้บ้านที่มีผนังติด ๆ กันไม่ขาดแสงธรรมชาติภายใน

นอกจากการออกแบบฟังก์ชันแล้ว สิ่งที่ซ่อนอยู่ในบ้านนี้ด้วยคือ “ความยั่งยืน” ที่เป็นส่วนสำคัญของกระบวนการออกแบบ และไม่ใช่สิ่งที่นำมาใช้ในภายหลังเพื่อเป็นส่วนเสริม จากความคิดนี้ทำให้สถาปนิกรวมการดีไซน์บ้านเข้ากับการออกแบบพลังงานไปพร้อมๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นการวางแนวแสงอาทิตย์

ตำแหน่งของมวลความร้อน ฉนวนกันร้อนกันหนาว

ตำแหน่งของมวลความร้อน ฉนวนกันร้อนกันหนาว ตำแหน่งและขนาดของประตูหน้าต่าง ระบบกักเก็บน้ำ และวัสดุ ทั้งหมดเป็นส่วนสำคัญในการออกแบบ และแต่ละส่วนเหล่านี้มีความ สำคัญต่อการสร้างบ้านที่ยั่งยืน

ในเมืองไทยทาวน์โฮม ตามกฎหมายจะต้องมีลักษณะดังนี้ คือ หน้ากว้างอย่างต่ำ 4 เมตร มีพื้นที่ว่างด้านหน้า ระหว่างแนวรั้วหรือแนวเขตที่ดินกับแนวผนังบ้าน กว้างไม่น้อยกว่า 3 เมตร มีพื้นที่ว่างด้านหลังไม่น้อยกว่า 2 เมตร หากมีทาวน์โฮมกว้าง 4 เมตร ติดกัน 10 หลัง ต้องมีระยะห่างเว้นว่าง 4 เมตร

ข้อดีของทาวน์โฮมคือ อยู่ในช่วงราคาที่คนส่วนใหญ่เอื้อมถึงได้ ส่วนข้อด้อย เช่น ความเป็นส่วนตัวน้อยกว่า การต้องใช้รั้วและกำแพงร่วมกับเพื่อนบ้านอาจทำให้เกิดปํญหา และมักเกิดปัยหาขาดแสงภายใน จึงต้องจัดการเรื่องแสงและการระบายอากาศให้ดี